กระดูกสันหลังเคลื่อนเกิดจากอะไร กายภาพบําบัด รักษาได้หรือไม่

กระดูกสันหลังเคลื่อนคืออะไร
กระดูกสันหลังเคลื่อน(Spondylolisthesis)คือ โรคที่เกิดเมื่อแนวกระดูกสันหลังซึ่งเป็นกระดูกแกนกลางของร่างกายและเป็นที่วางตัวของแนวเส้นประสาท มีภาวะข้อต่อที่เคลื่อนที่เลื่อนไปจากแนวปกติซึ่งส่วนใหญ่มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ แนวกระดูกสันหลังจะมีลักษณะที่ปล้องข้อกระดูกต่อกับหมอนรองกระดูกสลับกันไปจนถึงระดับเอว เกิดการทรุดยุบตัวลง แล้วเคลื่อนไปด้านหน้าเหนือข้อต่อปล้องชิ้นด้านล่างที่อยู่ติดกันและบริเวณด้านหลังแนวกระดูกเป็นตำแหน่งของเส้นประสาท ซึ่งระยะที่เลื่อนออกมามาก อาจจะเคลื่อนมากดทับเส้นประสาทได้ ทำให้มีอาการปวดหลังและปวดร้าวลงขา ชาขา อ่อนแรงขาสองข้างหรือข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้การลุกนั่ง ยืน เดิน ลำบากมากในการทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน
ลักษณะการเคลื่อนกระดูกสันหลังสามารถแบ่งได้ 4 ระยะ คือ
ระดับที่ 1 เคลื่อน 25%
ระดับที่ 2 เคลื่อน 50%
ระดับที่ 3 เคลื่อน 75%
ระดับที่ 4 เคลื่อน 100%
ระดับที่ 1-2 เป็นระดับสามารถรับการรักษาให้หายได้โดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ถ้าอายุรุนแรงถึงระดับที่ 3-4 โอกาสที่จะหายได้โดยการให้ยา กายภาพบำบัด มักไม่ได้ผล มักเป็นการรักษาโดยการผ่าตัด
กระดูกสันหลังเคลื่อนคืออะไร เกิดจากสาเหตุใด
กระดูกสันหลังเคลื่อนเกิดจากอะไร
กระดูกสันเคลื่อน กลุ่มวัยผู้สูงอายุเกิดจากสาเหตุความเสื่อมหมอนรองกระดูกสันหลังและตัวข้อกระดูกของแนวสันหลังเกิดภาวะเสื่อมมาก และทรุดตัวลงมาทับกัน ทำให้โครงสร้างบริเวณนั้นไม่มั่นคงมักเกิดภาวะการเคลื่อนที่และเลื่อนตัวของชิ้นกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังได้
กลุ่มวัยอายุน้อยมักพบสาเหตุจากประสบอุบัติเหตุและการกระแทกจากเล่นกีฬา ทำให้กระดูกสันหลัง แตก หัก ร้าว เกิดความเสียหาย หรืออาจพบในช่วงอายุแรกเกิดที่การเจริญของชิ้นส่วนกระดูกสันหลังไม่สมบูรณ์
ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อนมักมีอาการปวดหลัง และอาการปวดร้าวลงขา ซึ่งทั้งสองอาการไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นพร้อมกัน ส่งผลต่อชีวิตประจำการขยับตัว ลุก นั่ง เดินลำบากและบางรายที่อาการรุนแรงมากจะไม่สามารถเดินได้ ต้องรีบพบแพทย์ทันที
อาการของกระดูกสันหลังเคลื่อน
อาการความรุนแรงของกระดูกสันหลังเคลื่อนจะแตกต่างกันออกไปตามความเสื่อมและการเคลื่อนของกระดูก ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการปวดหลังส่วนล่าง และจะมีอาการแย่ลงหลังออกกำลังกาย หรือยกของหนักผิดท่า โดยเฉพาะเมื่อมีการกระแทก กระโดด ในการทำท่าทางต่างๆเป็นการกระตุ้นการเคลื่อนเลื่อนของข้อกระดูกสันหลังให้เลื่อนออกมามากขึ้นและอาาจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น
รู้สึกตึงปวดที่กล้ามเนื้อขาด้านหลัง
ปวดหรือชาบริเวณขา ต้นขา และสะโพก
ปวดหลังร้าวลงสะโพกและขาถึงปลายเท้า
พบแนวกระดูกสันหลังโค้งมากเกินไป หรือพบแนวกระดูกสันหลังคดร่วมด้วย
กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่ได้
ผลกระทบของกระดูกสันหลังเคลื่อน
ผลกระทบของกระดูกสันหลังเคลื่อน
ถ้าอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนเป็นมากขึ้นจนกดทับเส้นประสาท อาจทำให้มีอาการปวดร้าวลงขา ชาขาหรือชาเท้า กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงขณะเดินจะต้องมีคนช่วยพยุง หรือใช้อุปกรณ์พยุงเดิน ในรายที่อาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ เส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหูรูดจะเสียไปจะเกิดภาวะไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนมักพบในช่วงอายุ 45 - 70 ปี การที่กระดูกสันหหลังเคลื่อนออกมามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับงานที่ทำ ถ้าโรคของคนไข้รุนแรงมาก แต่ทำงานน้อยอาการก็จะเบา แต่ถ้ากระดูกเคลื่อนน้อยแต่ทำงานหนักอาการก็จะมีอาการมาก
ใครเสี่ยงเป็นกระดูกสันหลังเคลื่อน
ใครเสี่ยงเป็นกระดูกสันหลังเคลื่อนมากที่สุด?
คนที่น้ำหนักตัวเยอะ เกินค่ามาตราฐาน การรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไปตลอดเวลาเป็นการเพิ่มแรงกดทับและงานให้กับกล้ามเนื้อและแนวกระดูกสันหลังได้
พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยเฉพาะพนักงานผู้หญิงที่ใส่รองเท้าส้นสูงการยืนและเดินนานๆ บวกกับต้องยกของหิ้วของสัมภาระให้ลูกค้าในท่าทางซ้ำๆบ่อยจะลงผลกระทบต่อกระดูกสันหลังให้เคลื่อนออกมาได้
กราฟฟิกดีไซเนอร์ นักเขียน รวมถึงพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำคอมติดต่อกันหลายชั่วโมงและนั่งในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งหลังค่อม นั่งไขว่ห้าง นั่งงอสะโพกมากเกินไปจากการใช้เก้าอี้รองเท้าที่สูงเกินไป
ออร์แกไนเซอร์ ที่ต้องจัดเตรียมงานอีเวนต์หรือกิจกรรมต่างๆ ซึ่งต้องยกของหนัก โดยการยกของแบบผิดท่า ก้มๆ เงยๆ เป็นประจำบ่อยๆจะเป็นการทำร้ายกระดูกสันหลังโดยไม่รู้ตัว
นักกีฬา แม้ว่าร่างกายนักกีฬาจะแข็งแรง แต่แกนกระดูกสันหลังก็อาจจะได้รับบาดเจ็บและอันตรายจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการเล่นกีฬา และการออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป
การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน
การใช้ยารักษา
ใช้ยาไอบูโพรเฟนหรือพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ หากผู้ป่วยมีอาการชาที่ขาอาจจะต้องฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์บริเวณเส้นประสาทที่ถูกกดทับด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ผู้ตรวจค่ะ
การกายภาพบำบัด
การรักษากายภาพบำบัดจะช่วยลดอาการปวดหลังและอักเสบจากกระดูกสันหลังเคลื่อนดังนี้
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าคลายกล้ามเนื้อหลัง ช่วยทำให้กล้ามเนื้อข้างแนวกระดูกสันหลังลดความตึงตัวลง
เครื่องอัลตร้าซาวด์ช่วยลดการอักเสบของกล้มเนื้อมัดใหญ่บริเวณแนวกระดูกสันหลัง
เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์ช่วยลดการอักเสบของเส้นเอ็นของข้อต่อแนวกระดูกสันหลัง
เครื่องดึงหลังจะช่วยเพิ่มช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง จัดแนวกระดูกสันหลังเคลื่อนไม่ให้เคลื่อนออกมามากขึ้น
ใช้แผ่นประคบเย็นลดการอาการปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่มีกล้ามเนื้ออักเสบข้างแนวกระดูกสันหลัง
เครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า จะช่วยฟื้นฟูเส้นประสาทที่โดยกดทับทำให้อาการชาและอ่อนแรงที่ขาดีขึ้น
ใช้อุปกรณ์พยุงหลังใส่ในวันที่มีกิจกรรมการเดินนาน ยืนนานหรือนั่งติดต่อกันหลายชั่วโมง เพื่อให้กล้ามเนื้อหลังและแนวกระดูกสันหลังที่เคลื่อนได้พักการใช้งานในระยะที่อาการปวดรุนแรง
ทำท่ากายบริหารเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อช่วยพยุงข้อต่อให้ไม่เคลื่อนมากขึ้นภายใต้การดูแลของนักกายภาพบำบัด จะเป็นท่าที่ทำแล้วไม่ไปกระตุ้นการเคลื่อนที่ของกระดูกสันหลังและอาการปวดให้กำเริบมากขึ้น
การผ่าตัด
ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจะได้รับการวินิจฉัยว่าต้องผ่าตัด เป็นผู้ป่วยที่มีระยะของกระดูกสันเคลื่อนออกมาในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 คือระยะที่กระดูกสันหลังเกิดการเคลื่อนออกมามากและทับเส้นประสาททำให้มีอาการปวดและชาขาอย่างรุนแรง โดยแพทย์จะใช้สกรูและแท่งโลหะยึดกระดูกในบริเวณใกล้เคียงหรืออาจจะผ่าตัดเส้นประสาทที่ถูกกดทับออกแล้วเชื่อมข้อกระดูกสันหลังโดยใส่โลหะยึดตรึงแนวกระดูกสันหลังให้อยู่ในสภาพปกติ
กระดูกสันหลังเคลื่อน กายภาพบำบัด กับสรีรารัก
หากใครกำลังมองหา การภาพบำบัดที่ไหนดี ถึงจะเหมาะกับอาหารกระดูกสันหลังเคลื่อน สามารถเข้ามาที่คลินิกเพื่อประเมิณเบื้องต้นได้
ผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนเข้ามารักษาที่สรีรารักเราจะตรวจประเมินอาการระยะของโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนกับนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่จะพบผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังเคลื่อนในระยะที่ 1-2 หากพบว่าระยะของโรคอยู่ในระยะที่3-4 หรือมีอาการปวดชารุนแรงมากจะส่งต่อโรงพยาบาลใกล้เคียงเพื่อพบแพทย์ทันที การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อนระยะอาการปวดกำเริบเราจะมีเครื่องไฮพาวเวอร์เลเซอร์ที่จะช่วยลดอาการปวดอักเสบระยะเฉียบพลันได้ทันที หลังจากที่อาการปวดอักเสบลดลงเราจะใช้เครื่องดึงหลังช่วยเพิ่มช่องว่างและจัดแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนออกมามากขึ้นและช่วยระยะที่เริ่มมีการกดทับเส้นประสาทจะช่วยลดการถูกกดทับทำให้ลดอาการชาและร้าวลงขาได้และประกอบกับการใช้เครื่องมือกายภาพอื่นๆที่ช่วยคลายกล้ามเนื้อรอบๆบริเวณแนวกระดูกสันหลัง ทำให้อาการปวดลดลงได้ตั้งแต่ครั้งแรกของการรักษา
ถึงแม้ว่าอาการปวดและชาลดลง ผู้ป่วยจำเป็นต้องมารักษากายภาพบำบัดต่อเนื่องในระยะ 3 - 4 สัปดาห์โดยทำติดต่อกันสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นหากมีอาการปวดลดลงจนสามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติแล้วจึงหยุดกายภาพบำบัดได้ แต่ระวังการทิ้งระยะการรักษาที่ห่างขึ้นในขณะที่เรายังใช้ร่างกายทำงานหนักอยู่เหมือนเดิมอาการอาจจะกลับมาได้ตลอด หากเริ่มมีอาการปวดน้อยๆ ควรรีบกลับมารักษากายภาพบำบัดต่อได้ทันทีค่ะ
ข้อสรุป
โรคกระดูกสันหลังเคลื่อนสามารถเกิดขึ้นกับร่างกายเราได้ง่ายมากเนื่องจากการทำงาน อาชีพและลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน แต่เทคโนโลยีทางการแพทย์และการรักษาในปัจจุบันก้าวไกลและทันสมัย เช่น การใช้ยา การผ่าตัด และการรักษาทางกายภาพบำบัดช่วย ลดอาการปวดอักสบของกล้ามเนื้อหลังและช่วยฟื้นฟูโครงสร้างแนวกระดูกสันหลังไม่ให้เคลื่อนออกมามากขึ้นได้
หากสนใจติดต่อหรือมีอาการใกล้เคียงอาการกระดูกสันหลังเคลื่อนสรีรารักพร้อมใขข้อข้องใจให้บริการและดูแลคุณ ไม่ต้องรอให้ปวดเยอะ ไม่ต้องรอให้มีอาการชา แค่คุณรู้สึกเมื่อยหลัง ไม่สบายตัวในการทำงานสามารถเข้ามารับบริการได้ทันทีค่ะ เบอร์โทรศัพท์ 096-515-4692 sหรือ Line :@sarirarak