top of page

กล้ามเนื้ออักเสบ อาการเป็นอย่างไร กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ อย่างไร



กล้ามเนื้ออักเสบ คืออะไร

กล้ามเเนื้ออักเสบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มโรค คือ

1. โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง(Myofascial pain syndrome)

2. โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว(Myositis)


โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง(Myofascial pain syndrome)

เป็นโรคที่หลายๆคนคงมีอาการอยู่ เช่น ปวดต้นคอ ปวดบ่า และปวดเอว ปวดหลัง หรือปวดแขนขาจากการเล่นกีฬาหรือกิจกรรมต่างๆ โดยอาการปวดนี้่เกิดขึ้นและไม่หายสักที ปวดเรื้อรังติดต่อกันนาน ในกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดจะมีจุดกดเจ็บ(Trigger points) จุดกดเจ็บนี้จะทำให้มีอาการปวดร้าวไปบริเวณอื่นได้


โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว(Myositis)

เป็นการอักเสบที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อและใยกล้ามเนื้อ ซึ่งมักมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและล้ามากหลังเดินหรือยืนเป็นเวลานาน จะมีอาการเจ็บและบวมที่กล้ามเนื้อ เป็นในระยะสั้นๆหรือเป็นเรื้อรัง สาเหตุคือ เกิดจากการติดเชื้อจากการได้รับบาดเจ็บ โรคระบบภูมคุ้มกันทำลายตัวเอง หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา


สาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบ

สาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง เกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อมัดนั้นเดิมๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดจากการนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นานๆ การเล่นกีฬาโดยใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำๆ ทุกวัน เมื่อกล้ามเนื้อเกิดการใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน จะเกิดการเกร็งตัวสะสมจนเกิดเป็นก้อนอักเสบ ที่เรียกว่า จุดกดเจ็บ ซึ่งเจ้าก้อนเนื้อนี้เองเป็นตัวการทำให้เกิดโรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง

การอักเสบ

การอักเสบเป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้ทุกส่วนของร่างกายจะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ และมักมีอาการอักเสบรุนแรงของกล้ามเนื้อตามมา ซึ่งสาเหตุของการอักเสบที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันตัวเองผิดปกติทำให้ร่างกายหันมาทำลายตัวเอง เช่น โรคผิวหนังและกล้ามเนื้ออักเสบ เช่น SLE, IBM เกิดจากความพกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ ที่เป็นสาเหตุของกล้ามเนื้ออักเสบส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสเอชไอวี กล้ามเนื้ออักเสบอาจจะเกิดจากเชื้อเหล่านี้บุกเข้าไปยังเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อโดยตรงหรือมีการปล่อยสารไปทำลายใยกล้ามเนื้อให้เกิดความเสียหาย

การบาดเจ็บจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต อุบัติเหตุหรือการออกกำลังกาย

กล้ามเนื้ออักเสบอาจากการยกของหนักทำให้ปวดหลัง การที่ก้มตัวลงไปหยิบของจากพื้นขึ้นที่สูงกล้ามเนื้อหลังต้องเกร็งตัวอย่างมากในการออกแรงยกและของที่ยกมีน้ำหนักที่มากเกินไปทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมาก จนเกิดกล้ามเนื้ออักเสบทำให้ปวดระยะเฉียบพลันได้

กล้ามเนื้ออักเสบจากการเล่นกีฬาหรือเกิดอุบัติเหตุระหว่างเล่นกีฬา เช่น ข้อเท้าพลิก เอ็นเข่าฉีก ล้มกระแทกพื้น ออกกำลังกายหนักเกินไป สามารถกระตุ้นให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบขึ้นมาได้

การใช้ยารักษาโรคบางประเภท

การใช้ยารักษาโรคหลากหลายชนิดที่สามารถส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ เช่น ยาลดไขมันในเลือด(Statins) ยาโคลชิซินรักษาเก๊าท์ (Colchicine)ยาไฮดรอกซีคลอโรควิน สำหรับรักษาข้อรูมาตอยด์ โรคลูปัส และโรคมาเลเรีย ยารักษาโรคไวรัสตับอักเสบอัลฟาอินเทอร์เฟอรอน และยาที่มีส่วนผสมของสารเสพติดอย่างโคเคนและแอลกอฮอล์ เป็นต้น


อาการกล้ามเนื้ออักเสบ

อาการกล้ามเนื้ออักเสบเป็นอย่างไร

  1. มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจจะปวดตลอดเวลาหรือปวดเฉพาะเวลาทำงาน

  2. ความรุนแรงของอาการปวด มีได้ตั้งแต่แค่เมื่อย ล้า ปวดรำคาญ จนไปถึงปวดทรมานจนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้

  3. อาาจะมีอาการปวดร่วมกับอาการชา

  4. บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง นอนไม่หลับ

  5. มีความผิดปกติของโครงสร้างกล้ามเนื้อร่างกาย เช่น กระดูกสันหลังคด ระดับไหล่ไม่เท่ากัน ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน จึงทำให้เกิดภาวะการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุลกัน เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบของกล้ามเนื้อบริเวณนั้นได้

กล้ามเนื้ออักเสบอันตรายอย่างไร สามารถนำไปสู่อะไรได้บ้าง

กล้ามเนื้ออักเสบอักเสบเรื้อรังอาการอาจจะไม่รุนแรงมากนัก แต่หากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษาให้หายเป็นปกติ อาจทำให้เรามีโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ค่ะ

  1. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน อาการเริ่มแรกจะเหมือนไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ท้องเสีย อาเจียน อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ อาจเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว

  2. กล้ามเนื้ออักเสบทั้งตัว อาการจะรู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนแรงยกแขนไม่ค่อยขึ้น บางคนที่มีอาการรุนแรงอาจจะไม่สามารถลุกจากเตียงได้ หายใจลำบาก อาจอาการร้ายแรงจนถึงขึ้นระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจเกิดการอักเสบ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง

  3. ออฟฟิศซินโดรม ปัญหากล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็งสะสมติดต่อกันเป็นเวลานานจนทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ พบจุดกดเจ็บตามบริเวณที่ปวด

การรักษากล้ามเนื้ออักเสบ

รักษาด้วยการใช้ยา


โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)

ยาที่สามารถซื้อทานเองได้ตามร้านขายยา ได้แก่

ยาแก้ปวด พาราเซตามอล

ยาต้านอักเสบ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไดโคฟีแน็ก


ยาคลายกล้ามเนื้อ นอร์จีสิค

หรือใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ตรวจ


โรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว(Myositis)

ห้ามซื้อรับประทานเองต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น

ต้องรักษาด้วยยากดระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ได้แก่ เพรดนิโซน อะซาไธโอพรีน และเมโธเทรกเซต


รักษาด้วยการกายภาพบำบัด


กายภาพบําบัดกล้ามเนื้ออักเสบ โรคกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)

สามารถรักษาด้วยเครื่องมือ กายภาพบำบัด ดังนี้

  1. เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ช่วยคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นชั้นลึก

  2. เครื่องอัลตร้าซาวด์ ช่วยคลายก้อนกล้ามเนื้อแข็งและเกร็งตัวให้นิ่มลง

  3. เครื่องไฮเพาเวอร์เลเซอร์ ช่วยลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น

  4. เครื่องอบความร้อนลึก ช่วยคลายกล้ามเนื้อและลดการอัักเสบ

  5. การประคบเย็นลดการอักเสบของกล้ามเนื้อชั้นตื้น


ส่วนโรคกล้ามเนื้ออักเสบทั่วตัว(Myositis) ทางกายภาพบำบัดไม่สามารถช่วยให้อาการปวดทุเลาลงได้ จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อทานยากดภูมิคุ้มกัน ตามแพทย์สั่งเท่านั้นค่ะ


แนะนำกายภาพบำบัดกับทางสรีรารัก

หากกำลังมองหา กายภาพบำบัดที่ไหนดี การรักษาโรคกล้ามเนื้ออักเสบที่สรีรารัก เรามีการตรวจประเมินระยะของกล้ามเนื้ออักเสบ วิเคราะห์อาการ ชนิดของโรคกล้ามเนื้ออักเสบเฉพาะบุคคล โดยทีมนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ทำการตรวจประเมินและวิเคราะห์อาการที่พบ มีการตรวจกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดและกล้ามเนื้อบริเวณใกล้เคียง นักกกายภาพสรีรารักเราจะพิจารณาปัญหาและเน้นการฟื้นฟูแบบองค์รวมเพื่อหาสาเหตุและต้นตอของปัญหาหลักร่วมกันออกแบบการรักษาและวางแผนการรักษาในระยะยาวจนกว่าอาการของผู้ป่วยจะดีขึ้น ในขั้นตอนนี้ลูกค้าจะได้รับชี้แจงและอธิบายข้อมูลระยะของกล้ามเนื้ออักเสบที่ตรวจพบและรายละเอียดของโรคให้ทราบอย่างชัดเจนและเข้าใจง่าย เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าใจโรคของตนเองและแนะนำโปรแกรมการรักษา ขั้นตอนการรักษา การปฏิบัติตัวระหว่างทำกายภาพบำบัด วิธีดูแลตัวเองหลังจากทำกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำ

ระหว่างการรักษาในแต่ละครั้งนักกายภาพบำบัดเราจะติดตามอาการและประเมินผลการรักษาโดยการสอบถามระดับความรู้สึกเจ็บปวดหลังการรักษาในทุกๆครั้ง เพื่อนำมาวางแผนการรักษาในครั้งถัดไป กรณีอาการยังไม่ทุเลาหรือยังไม่ดีขึ้นจะมีการตรวจประเมินวิเคราะห์อาการซ้ำ และเปลี่ยนแนวทางการรักษาให้ตรงกับอาการมากขึ้น โดยพิจารณาจากผลการรักษาในแต่ละครั้งเพื่อการรักษาที่มีคุณภาพ ตรงจุด และลดอาการปวดให้ลดลงมากที่สุดในทุกครั้งที่เข้ามารับการบริการที่สรีรารักค่ะ


Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
bottom of page