4 ท่าบริหารแก้อาการไหล่ติด
“หัวไหล่” เป็นอีกอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้เราหยิบจับและทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบายไม่ติดขัด แต่รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันมีผู้ที่มีอาการข้อไหล่ติด และข้อไหล่ยึดจำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอย่างวัยทำงานและผู้ที่มีอายุในช่วง 40 ปีขึ้นไป ที่มักต้องใช้หัวไหล่ในการออกแรง หรือขยับอย่างรุนแรงเป็นประจำ
อาการไหล่ติด
เจ็บหรือปวดในลักษณะตื้อ ๆ ปวดตุบ ๆ บริเวณหัวไหล่และต้นแขน
มีอาการข้อติด ทำให้เคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ลำบากทั้งการขยับด้วยตนเองหรือมีคนช่วย
สาเหตุของอาการไหล่ติด
การอักเสบของเยื่อหุ้มข้อบริเวณหัวไหล่ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุในอดีตที่ทำให้เส้นเอ็นบริเวณข้อหัวไหล่ฉีกขาด และไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดเป็นพังผืดติดยึด หรือคนที่นั่งทำงานนานๆ ไม่ขยับร่างกาย และอยู่ในห้องแอร์ที่อากาศเย็น จนทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างไม่สะดวก จนเกิดเป็นพังผืดติดยึดได้
สำหรับอาการไหล่ติดในช่วงเริ่มต้นนั้น สามารถรักษาได้ด้วยการทำกายภาพบำบัด และการบริหารไหล่อย่างเป็นประจำ ซึ่งเรามี 4 ท่าบริหารไหล่ เพื่อพิชิตอาหารไหล่ติดมาฝากกัน
4 ท่าบริหาร แก้อาการไหล่ติด
ท่าที่ 1
ยืนหลังตรง ศีรษะตรง
ประสานมือทั้งสองเข้าหากันบนตัก
ค่อยๆ ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ และเหยียดแขนตรงจนสุด ให้แขนแนบหูทั้งสองข้าง
ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 2
ยืนหลังตรง ศีรษะตรง วางแขนทั้งสองข้างแนบชิดลำตัว
ค่อยๆ กางแขนทั้งสองข้างขึ้น เหยียดตรง ขนานกับหัวไหล่
จากนั้นหงายมือ และค่อยๆ ยกแขนขึ้นจนสุด ให้มือประสานกันเหนือศีรษะ โดยให้แขนแนบหูทั้งสองข้าง
ค้างไว้ 10 วินาที ทำซ้ำ 10 ครั้ง
ท่าที่ 3
ยืนหลังตรง ศีรษะตรง
มือขวาจับปลายผ้าขนหนูไว้ แล้วยกมือขึ้นเหนือศีรษะพาดไปด้านหลัง
มือซ้ายอ้อมไปด้านหลังจับปลายผ้าขนหนูด้านล่างไว้
จากนั้นใช้แขนขวาดึงผ้าขนหนูขึ้น ค้างไว้ 10 วินาที
สลับกับใช้แขนซ้ายดึงผ้าขนหนูลง ค้างไว้ 10 วินาที
ทำซ้ำ 10 ครั้ง แล้วสลับข้าง
ท่าที่ 4
ยืนหันข้างให้แขนที่ไม่เจ็บชิดขอบโต๊ะ แขนที่ไหล่ติดอยู่ด้านนอกก้าวขาซ้ายมาด้านหน้าเล็กน้อย
วางแขนที่ไม่เจ็บไว้บนโต๊ะ โน้มตัวไปข้างหน้า หมุนแขนเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา 10 รอบ
จากนั้นหมุนแขนเป็นวงกลมทวนเข็มนาฬิกา 10 รอบ
เท่ากับ 1 set ให้ทำทั้งหมด 3 set/วัน
แนวทางการรักษาโดยนักกายภาพ
นักกายภาพจะตรวจประเมินการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ โดยการวัดองศาในทุกทิศทางที่ข้อไหล่สามารถเคลื่อนไหวได้ ตรวจความตึงตัวของกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่และสะบัก อาการไหล่ติดมักมีปัญหากล้ามเนื้อและเอ็นโดนกดเบียดจนเกิดการอักเสบร่วมด้วย จากนั้นวางแผนการรักษาโดยใช้เครื่องมือกายภาพบำบัดคลายกล้ามเนื้อ ลดการอักเสบของเส้นเอ็นและเทคนิคการดัดดึงข้อไหล่ให้เคลื่อนไหวได้มากที่สุด
เครื่องมือที่ใช้รักษา
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า ประโยชน์ช่วยคลายกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็กที่อยู่ชั้นตื้นและชั้นลึก
คลื่นเหนือเสียง ประโยชน์ ลดอาการปวด การอักเสบของเนื้อเยื่อ อาการบวมเร่งการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อต่อในชั้นลึก
ประคบร้อน ประโยชน์ช่วยคลายกล้ามเนื้อเพิ่มการไหล่เวียนในกล้ามเนื้อชั้นตื้น
การดัดดึงข้อต่อ/ยืดกล้ามเนื้อรอบไหล่ ประโยชน์เพิ่มองศาการเคลื่อนไหวรอบข้อและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อรอบข้อไหล่
เครื่องเลเซอร์กำลังสูงประโยชน์ลดอาการปวดอักเสบเฉียบพลัน เร่งการซ่อมแซมเส้นเอ็นและเนื้อเยื่อ
สรุป
อาการข้อไหล่ติดแบ่งได้ 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 คือ เจ็บปวด ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดมากขึ้นเรื่อย ๆ จะรู้สึกปวดชัดเจนเวลากลางคืน จะปวดโดยไม่ทราบสาเหตุแม้ไม่ได้ขยับหรือทำกิจกรรมอะไร ยกเว้นการเคลื่อนไหวของแขนแบบเต็มองศาการเคลื่อนไหวจะปวดมากในองศาสุดท้าย ระยะนี้อาจจะใช้เวลา 2 - 9 เดือน
ระยะที่ 2 คือ ยึดติด ระยะนี้อาการปวดในระยะแรกยังคงอยู่แต่มักมีอาการลดลง และข้อไหล่มักจะเคลื่อนไหวได้น้อยลงเกือบทุกทิศทางเกิดการรบกวนต่อชีวิตประจำวัน ระยะนี้อาจจใช้เวลา 3 - 9 เดือน หรือนานกว่านี้ได้
ระยะที่ 3 คือ ฟื้นตัว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดลดลงและเริ่มเคลื่อนไหวหัวไหล่ได้ดีขึ้นในช่วง 12- 24 เดือน
ผู้ป่วยที่เริ่มเป็นระยะที่1-2 เข้ารับการกายภาพบำบัดได้เร็ว จะทำให้การรักษาจนหายเป็นปกติได้เร็วขึ้นค่ะ
แหล่งอ้างอิง : https://www.pobpad.com/