top of page

กายภาพบำบัดอย่างไร ให้ได้ผล ?


ช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาน้องสรีแอบหนีกลับบ้านไปแปบนึง ได้อยู่กับพ่อแก่แม่เฒ่าพร้อมหน้าพร้อมตา #อบอุ่นจริงๆ ซึ่งพอมีการรวมตัวเกิดขึ้น การพูดคุยสารทุกข์สุกดิบก็เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คำถามนึงที่น้องสรีถูกญาติๆ ถามคือ ทำไมไปทำกายภาพบำบัดแล้วไม่เห็นจะดีขึ้นเลย อาการที่เป็นอยู่ก็เหมือนเดิม โดนหลอกรึป่าวเนี่ย น้องสรีเลยใช้ความฉลาด #แสนซน ของน้องสรี ค้นคว้าหาข้อมูล เรื่อง“กายภาพบำบัดอย่างไรให้ได้ผล ?” มาฝากทุกคนค่ะ

.

สำหรับกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ สะบัก หลัง แขน ขา ออฟฟิศซินโดรม ต้องปฏิบัติตัวระหว่างการรักษาทางกายภาพบำบัดให้ถูกต้อง #ฮั่นแน่ น้องสรีต้องย้ำนะคะว่า คำว่า ระหว่างการรักษา ไม่ใช่แค่ตอนอยู่ที่คลินิก แต่หมายถึงหลังจากเดินออกจากคลินิกไปแล้วด้วย ซึ่งการรักษาทางกายภาพบำบัดสำหรับอาการเหล่านี้ คือ การฟื้นฟูบริเวณที่ปวดโดยตรง โดยผลของการรักษา จะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง

.

ช่วงแรก : ครั้งที่ 5-7 ของการรักษา เราจะค่อยๆรู้สึกดีขึ้น ปวดลดลงเรื่อยๆ อาการปวดทิ้งช่วงห่างขึ้น #แต่ยังมีอาการปวดรบกวนอยู่ จะเริ่มรู้สึกหายใจเต็มอิ่มมากขึ้น รู้สึก #สดชื่นในตอนเช้ามากกว่าทุกๆวัน ในช่วงนี้จะรู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังรักษาได้ระดับหนึ่ง

.

ช่วงที่สอง : ครั้งที่ 8-15 ของการรักษา น้องสรีขอเรียกว่า #ช่วงวัดใจ เพราะเราอาจจะรู้สึกว่าอาการ #ทรงๆ ไม่เบาสบายเหมือนช่วงแรก เนื่องจากในช่วงนี้กล้ามเนื้อได้ #เรียนรู้และจดจำ ภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของการคลายกล้ามเนื้อ แบบสม่ำเสมอ เราจะรู้สึก #เอ๊ะ กับผลการรักษา เพราะอาการ #ไม่ได้ลดลงชัดเจนเหมือนช่วงแรก แต่จะทิ้งช่วงระยะเวลาปวดนานมากขึ้น นั่งทำงานได้นานขึ้น หรือบางวันแถบไม่ปวดเลย

.

ช่วงที่สาม : ครั้งที่ 16–30 ของการรักษา ช่วงนี้อาการปวดลดลงมากจน #แทบไม่มีอาการปวดเลย หรือเหลืออาการปวดน้อยลงมาก ไม่รบกวนการทำงานในชีวิตประจำวัน การคลายตัวของกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่น การไหลเวียนเลือดและเส้นประสาททำงานได้ดีขึ้น กลับสู่ภาวะปกติของร่างกาย แต่กรณีที่คนไข้มีภาวะความตึงตัวของกล้ามเนื้อน้อย ช่วงเวลาในการรักษาทั้งสามช่วงอาจจะเร็วขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้

.

มาถึงไฮไลท์กันแล้วค่า กว่าเราจะเดินทางผ่านมาถึงช่วงที่ 3 รักษาได้ถึง 16-30 ครั้งเนี่ย นอกจากต้องมีวินัยและไม่ถอดใจเลิกรักษาแล้ว เพื่อให้ผลการรักษาเป็นไปตามระยะเวลาทั้ง 3 ช่วงที่กล่าวมาข้างต้น เราต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของนักกายภาพบำบัดที่ตั้งโปรแกรมการรักษาไว้ให้ เช่น

- การบริหารและยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นปัญหา เพื่อช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อกลับมาแข็งเกร็งได้อีกในระหว่างวัน

- การบริหารและยืดกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องทุกวัน จึงจะเห็นผลของการคลายกล้ามเนื้อ การปรับโครงสร้างต่างๆ ภาวะไหล่ห่อ คอยื่น หลังค่อมได้

- ควรหลีกเหลี่ยงท่าทางแบบผิดๆ กิจกรรมหนักๆ และกีฬาต่างๆ

- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้อุณภูมิของร่างกายสูงขึ้น เช่น แช่น้ำร้อน ซาวน่า เพราะจะส่งผลต่อการกระตุ้นให้ปวดให้มากขึ้น เป็นต้น

.

น้องสรีขอสรุปว่าจะรักษาหายหรือไม่หาย ไม่ได้อยู่ที่องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง ไม่ใช่แค่นักกายฯ ไม่ใช่แค่การบริการ ไม่ใช่แค่อุปกรณ์เทคโนโลยี แต่ขึ้นอยู่กับความเข้าใจในการรักษาของเรา รู้จังหวะ รู้ลำดับขั้น และต้องรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำในช่วงนี้ #ตบมือข้างเดียวไม่ดัง

.

📞096-515-4692 Line ID : @sarirarak www.sarirarak.com

#ปวดเมื่อยเรื้อรัง #รักษาให้ตรงจุด #ที่สรีรารักคลินิกกายภาพบำบัด

Featured Posts
Recent Posts
Search By Tags
bottom of page